มะขามป้อม
มะขามป้อม ชื่อสามัญ Indian gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม ()
มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า “พยาบาล” สะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน และเป็นผลไม้ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย
มะขามป้อม จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เป็นต้น และคุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว พบได้ทั่วไปในป่าเขตร้อนของทวีปเอเชียตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ แถบภาคกลางและใต้ของอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา จีน มาเลเซีย เมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มักขึ้นในธรรมชาติในป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าแดงประเทศ แต่มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การกระจายพันธุ์เกิดจากการที่เมล็ดร่วงลงดิน หรือมีสัตว์ป่ามากินแล้วคายเมล็ดไว้
มะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ที่ทนแล้วได้ดี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8 – 20 เมตร ขนาดโตวัดรอบไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้าเรียบเกลี้ยง สีน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีชมพูสด เรือนยอดรูปร่ม
• ใบน้ำมะขามป้อมมีใบเป็นช่อ แต่ละช่อมีใบย่อยเล็กๆ รูปขอบขนานติดเป็นคู่ๆ เยื้องๆ กัน ปลายใบมน มีรอยหยักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ สีเขียวอ่อน กว้าง 0.25 – 0.50 เซนติเมตร ยาว 0.8 – 1.2 เซนติเมตร เรียงชิดกัน ก้านใบสั้นมาก ใบย่อยจำนวน 22 คู่ เส้นใบไม่ชัดเจน เส้นกลางใบเห็นได้รางๆ
• ดอกมะขามป้อม มีดอกเล็ก สีขาวนวล แยกเพศกัน แต่เกิดบนกิ่งและต้นเดียวกัน ออกดอกตามง่ามใบ 3 – 5 ดอก มีกลีบรองดอก 6 กลีบ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ฐานรองดอกมี 6 แฉก ดอกเพศเมีย มีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก รังไข่มี 3 ช่อง หลอดท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากัน
• ผลมะขามป้อม กลม มีเนื้อหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 – 2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีเขียวค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาวพอสังเกตได้ 6 เส้น เนื้อกินได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง 6 สัน มี 6 เมล็ดใน 1 ผล
• ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ประมาณเดือนกันยายน และเป็นผลประมาณเดือน พฤศจิกายน –ธันวาคม-มกราคม-กุมภาพันธ์

จากงานวิจัยมะขามป้อม การศึกษาพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูถีบจักร เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำของใบมะขามป้อมในขนาด 0.1 และ 0.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหนู แต่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอวัยวะภายในของหัวใจ ปอด ตับและมีการเพิ่มของระดับ SGPT ในซีรั่ม เมื่อให้สารสกัดแก่หนูถีบจักรทางปากในขนาด 20 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่เกิดอาการพิษในสัตว์ทดลอง และเมื่อฉีดสารสกัดทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรเพศผู้ตามครึ่งหนึ่ง (LD₅₀) เท่ากับ 0.415 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนหนูถีบจักรเพศเมียมีค่าเท่ากับ 0.288 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เนื่องจากมะขามป้อมมีรสเปรี้ยว รสฝาด อาจจะรับประทานยากสักหน่อยสำหรับบางคน การรับประทานมะขามป้อมนั้นควรปรุงรสให้อร่อยด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าเอาเมล็ดออกให้เหลือแต่เนื้อ แล้วนำมาใส่ พริก เกลือ น้ำตาล นำมาตำพอแหลกก็ใช้ได้ แต่ทั้งนี้ควรรับประทานก่อนนอนหรือช่วงตื่นนอนใหม่ ๆ หรือขณะที่ท้องว่าง สำหรับวิธีลดความฝาดของมะขามป้อมนั้นทำได้โดยการนำไปแช่น้ำเกลือ ด้วยการนำมะขามป้อมมาล้างให้สะอาดและลวกด้วยน้ำร้อน แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัด ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน รสฝาดก็จะหายไป

ประโยชน์ของที่จะได้รับจากน้ำ มะข้ามป้อม
- นิยมนำมารับประทานเพื่อให้สดชื่น ชุ่มคอ แก้กระหาย
- วิตามินซีในมะขามป้อมสามารถดูดซึมได้เร็วกว่าวิตามินซีชนิดเม็ดเป็นอย่างมาก
- ใช้บำรุงผิวหน้าให้ขาวสดใส รักษาฝ้า ด้วยการนำมะขามป้อมมาฝนกับฝาละมีแล้วนำน้ำที่ได้มาทาบริเวณรอยฝ้า
- ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย
- ช่วยบำรุงและรักษาเส้นผมให้มีสุขภาพแข็งแรง ผมนุ่มลื่น ป้องกันผมหงอก ด้วยการทอดมะขามป้อมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมาหมักผม
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
- ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- เป็นผลไม้ที่ช่วงบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยช่วยบำรุงอวัยวะแทบจะทุกส่วนของร่างกาย
- ช่วยบำรุงโลหิตได้เป็นอย่างดี
- มะขามป้อมมีเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้อีกด้วย โดยใช้ผลสดประมาณ 30 ผล นำมาคั้นเอาน้ำหรือนำมาต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำ ทั้งนี้ควรเลือกมะขามป้อมที่แก่จัด ผิวออกเหลืองจะได้ผลดีที่สุดในการรักษาอาการไอและหวัด
- ใบสดมะขามป้อมนำมาต้มน้ำอาบ ลดอาการไข้
- น้ำมะขามป้อมมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
- มะขามป้อมเป็นตัวช่วยในการลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาล ลดไขมันในเลือดได้ด้วย
- ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ใช้แก้อาการปวดฟันได้ ด้วยการใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำแล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ
- รสเปรี้ยวของมะขามป้อมช่วยในการละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้เป็นอย่างดี
- รากแห้งมะขามป้อม นำมาต้มดื่มแก้อาการท้องเสีย ร้อนใน ความดันโลหิต
- ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
- ช่วยลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย
- มะขามป้อมเป็นส่วนประกอบใช้สำหรับการรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัณโรค รักษาภาวะของโรคเอดส์
- มะขามป้อมแห้งช่วยรักษาโรคบิด ใช้ล้างตา รักษาตาแดง ตาอักเสบได้
- มะขามป้อมแห้ง เมื่อนำมาผสมน้ำสนิมเหล็กจะช่วยแก้โรคดีซ่านได้
- รักษาโรคบิด
- ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ
- แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา
- รักษาโรคดีซ่าน
- ทาแก้ตุ่มคัน หืด
- รักษาโรคเบาหวาน
- รักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ
- แก้คลื่นไส้ อาเจียน
- ต้านอนุมูลอิสระและยังยั้งการสร้างเมลานินได้
- บำรุงผิวขาว และช่วยชะลอความแก่
- แก้ไอ ละลายเสมหะ
- แก้ตานซางในเด็ก
- แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
- ช่วยขับปัสสาวะ
- เป็นยาระบาย
- รักษาคอตีบ
- รักษาเลือดออกตามไรฟัน
- เป็นยาถ่ายพยาธิ
- แก้ท้องเสีย
- รักษาโรคหนองใน
- บำรุงธาตุ
วิธีการทำน้ำ มะขามป้อม แช่อิ่ม เพื่อสุขภาพ
- วัตถุดิบที่ต้องเตรียม มะขามป้อมสด 1 กิโลกรัม / เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำตาลใส 4 ช้อนโต๊ะ / น้ำปูนใส
- ล้างมะขามป้อมให้สะอาด แล้วใช้มีดฝานตามยาวของผลให้ทั่ว แต่ไม่ต้องให้ถึงเมล็ด
- นำเกลือป่นมาใส่หม้อ ใส่น้ำพอประมาณ แล้วต้มจนเดือด
- เสร็จแล้วนำมาทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมะขามป้อมแช่ในน้ำเกลือทิ้งไว้ 1 คืน
- รุ่งเช้าให้นำมะขามป้อมมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำปูนใสประมาณ 3 ชั่วโมง
- น้ำปูนใสได้จากการแช่ปูนแดง แล้วทิ้งไว้ให้ปูนนอนก้น ตักเอาแต่น้ำใส ๆ มาแช่มะขามป้อม
- เมื่อแช่จนครบกำหนด นำมาล้างน้ำอีกครั้งแล้วใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ ต้มน้ำตาลทรายและใส่น้ำ ต้มให้น้ำเดือด แล้วกรองให้สะอาด ทิ้งไว้ให้เย็น
- หลังจากนั้นนำมะขามป้อมมาแช่ในน้ำเชื่อม ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน
- วันที่ 2 นำมะขามป้อมขึ้นจากน้ำเชื่อม เติมน้ำตาลลงในเชื่อมแล้วต้มให้น้ำตาลละลาย
- เมื่อน้ำเชื่อมเย็นแล้ว นำมะขามป้อมแช่อีกรอบ และทำเช่นนี้จนครบ 2 ครั้ง
- วันที่ 5 นำมะขามป้อมออก เอาแต่น้ำเชื่อมไปต้มให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น แช่มะขามป้อมใส่น้ำเชื่อมอีกจนกระทั่งน้ำเชื่อมซึมเข้าเนื้อมะขามป้อมจนเห็นเป็นเนื้อใส ๆ เป็นอันเสร็จรับประทานได้เลย

ประโยชน์จากยาน้ำ มะขามป้อม แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้ดังนี้
• ใช้เนื้อผงสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อม หรือ เดี่ยว วันละ 3-4 ครั้ง
• ผลมะขามป้อมสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลมะขามป้อมสดจิ้มเกลือรับประทาน
• ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ
• อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ใช้ผลสด 15-30 ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว
• บำรุงร่างกายให้แข็งแรง มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มาก เช่นเดียวกับสมอไทย ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด 1 ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่นอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือด
• ท้องผูก นำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ 10 ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอน หรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
• รับประทานมะขามป้อมเป็นยาแก้ไอผสมมะขามป้อม
สูตรตำรับที่ 1 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มขัน 40 เปอร์เซ็นต์) 60 มิลลิลิตร สารสกัดใบเสนียด (ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์) 10 มิลลิลิตร กลีเชอรีน 5 มิลลิลิตร สารสกัดรกชะเอมเทศ 0.45 มิลลิลิตร เกลือแกง 0.5 กรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.01 มิลลิกรัม
สูตรตำรับที่ 2 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มข้น 25 เปอร์เซ็นต์) 30 มิลลิลิตร มะนาวดอกแห้ง 8 กรัม สารสกัดรากชะเอมเทศ 5 มิลลิลิตร ผิวส้มจีน 3.3 มิลลิกรัม บ๊วย 3 มิลลิกรัม เนื้อลูกสมอพิเภก 3 กรัม เนื้อลูกสมอไทย 1 มิลลิกรัม หล่อฮังก๊วย 2 มิลลิกรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.08 มิลลิกรัม น้ำตาลทรายแดง 40 มิลลิกรัม
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กองโภชนาการกระทรวงสาธารณสุข
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=258
2. รายงานผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ผลไม้ป่า”มะขามป้อม”เพิ่มคุณค่าอาหารกลางวัน.ชุมนุมอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์.หน้า6-15
3. แฉล้ม มาศวรรณา และนิวัฒน์ มาศวรรณา.มะขามป้อมสมุนไพรของคุณค่ากสิกร เกษตรน่ารู้. น.ส.พ.กสิกรปีที่ 82 ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน 2552 หน้า 53 – 60
4. ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร.มะขามป้อมสมุนไพรที่ไม่ควรมองข้าม.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 309 คอลัมน์ เรื่องเด่นจากปก. มกราคม 2548
5. ชนิดา กานต์ประชา, ชาญณรงค์ นาคจำรัสศรี , วิศรุต บูรณสัจจะ . 2548.การแยกสาระสำคัญในสารสกัดมะขามป้อม . คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ
6. มะขามป้อม.ฐานข้อมูลเครื่องยา.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=101
7. Takachi, F., M. Wakaizumia, T Ikamiband M, Saitoa.2008.Amla (Emblica officinalis Gaertn.) extract promotes procollagen produc tion and inhibits matrix metalloproteinase-1 in human skin fibroblasts. Joumal of Ethnophamacology.119:53-57
8. มะขามป้อม.สมุนไพรล้างพิษ.สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.tmri.dtam.moph.go.th/heab/makampom.php