เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้เถาวัลย์เปรียงในตำรับ “ยาผสมเถาวัลย์เปรียง” มีส่วนประกอบของเถาวัลย์เปรียงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

เถาวัลย์เปรียง ชอบขึ้นตามจอมปลวกหัวไร่ปลายนา ชอบอยู่ตามป่าดิบแล้ง พันเลื้อยไปบนต้นไม้อื่น หน้าฝนดอกสีขาวเป็นช่อจะออกบานสะพรั่งสวยงาม ยอดอ่อน ยังกินเป็นผักได้ ชาวบ้านสมัยก่อนหลังกลับจากทำไร่ไถนาก็จะมาต้มเถาวัลย์เปรียง(หรือเครือตาปลา)กิน โดยจะตัดเถาเอามาฟันเป็นชิ้นๆ จากนั้นนำมาตากแห้งไว้ แล้วคั่วไฟให้หอมหรือจะไม่คั่วก็ได้ ต้มกินกันได้ทุกวัน แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัวปวดเอว เส้นเอ็นตึง แก้กษัยไตพิการ หลังจากทำงานทำการมาสบายตัวดีแท้