เพลง: ฟื้นฟูขึ้นจากซากปรักหักพัง (เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน)
ไทย: สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี
เยอรมัน: Deutsche Demokratische Republik (DDR)
ในปี ค.ศ. 1949 เยอรมนีตะวันออกในความควบคุมของสหภาพโซเวียตภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรได้กลายเป็นรัฐสังคมนิยมในนาม “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน” สำหรับเพลงชาติของรัฐใหม่นั้น ประพันธ์บทร้องโดย โยฮัน โรเบิรต์ เบชเชอร์ กวีผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนทำนองนั้น ได้มีการสรรหาดนตรีที่สามารถร้องเข้ากับบทประพันธ์ของเบชเชอร์ โดยผลงานของฮานส์ อิสเลอร์ เป็นผลงานที่ได้รับเลือก
เนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงช่วงเริ่มแรกของการแบ่งแยกเยอรมัน ซึ่งในเวลานั้นชาวเยอรมันส่วนมากเห็นว่ากระบวนการรวมพื้นที่เยอรมนีที่ถูกยึดครองทั้งหมดได้ดำเนินไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ บทร้องของเบชเชอร์จึงมีการเน้นความหมายถึง “ความเป็นหนึ่งเดียว” ในหลายจุด และใช้ร่วมกับคำว่า “ปิตุภูมิ” (einig Vaterland) เพื่อสื่อความหมายถึงประเทศเยอรมนีทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าแนวคิดดังกล่าวก็ไม่เหมาะสมกับบริบทของสงครามเย็นที่ยิ่งอบอวลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลินโดยรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกในปี ค.ศ. 1961
ในปี ค.ศ. 1973 เยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติพร้อมกัน หลังจากมีการเจรจาหลายครั้งระหว่างทั้งสองรัฐบาลเพื่อหารือข้อตกในการได้รับการรับรองสถานภาพร่วมกัน ต่อมาจึงมีการยกคำว่า “เยอรมนี” ออกจากรัฐธรรมนูญของเยอรมนีตะวันออก และมีการใช้เพียงทำนองเพลงชาติบรรเลงสำหรับโอกาสที่เป็นทางการเท่านั้น ไม่มีการประพันธ์บทร้องใหม่ขึ้นมาแทนที่บทร้องของเบเชอร์ ซึ่งยังคงมีการใช้อยู่ในลักษณะไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะหลังจากจุดเปลี่ยนทางการเมือง (เยอรมัน: die Wende) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1989 ทันทีที่เกิดความชัดเจนว่าประเทศได้เคลื่อนไหวไปสู่การรวมชาติ สถานีโทรทัศน์ของเยอรมนีตะวันออกได้กลับมาดำเนินการและใช้เพลงนี้เป็นสัญญาณการปิดสถานี (sign-off) ทุกคืน โดยใช้เพลงฉบับขับร้องประกอบการบรรเลงเพลงด้วยวงซิมโฟนีพร้อมภาพประกอบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเยอรมนีตะวันออก
“เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน” ได้ยุติความเป็นเพลงชาติเมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันสลายตัวและเข้าร่วมกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในการรวมชาติเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1990 ดัสลีดแดร์ดอยท์เชินซึ่งประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1841 ได้กลับมาเป็นเพลงชาติของเยอรมนีอันเป็นเอกภาพอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันออก โลธาร์ เด ไมซิแอร์ ได้เสนอให้เพิ่มบทร้องของเบชเชอร์รวมเข้าไปในเพลงชาติของเยอรมนีด้วย แต่ข้อเสนอนี้ได้รับการปฏิเสธจากนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันตก เฮลมุท โคล
ในช่วงสุดท้ายของการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1990 สถานีวิทยุเบอร์ลินสากล (Radio Berlin International) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุนานาชาติของเยอรมนีตะวันออก ได้ใช้เพลงนี้ในฉบับขับร้องเป็นสัญญาณการปิดสถานี
เพลงเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและไม่สะท้อนความเชื่อของผมหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มเติมวาระทางการเมืองสังคมและระดับชาติ
เนื้อเพลงเยอรมัน:
Auferstanden aus Ruinen
Und der Zukunft zugewandt,
Laß uns dir zum Guten dienen,
Deutschland, einig Vaterland.
Alte Not gilt es zu zwingen,
Und wir zwingen sie vereint,
Denn es muß uns doch gelingen,
Daß die Sonne schön wie nie
Über Deutschland scheint.
Glück und Frieden sei beschieden
Deutschland, unserm Vaterland.
Alle Welt sehnt sich nach Frieden,
Reicht den Völkern eure Hand.
Wenn wir brüderlich uns einen,
Schlagen wir des Volkes Feind!
Laßt das Licht des Friedens scheinen,
Daß nie eine Mutter mehr
Ihren Sohn beweint.
Laßt uns pflügen, laßt uns bauen,
Lernt und schafft wie nie zuvor,
Und der eignen Kraft vertrauend,
Steigt ein frei Geschlecht empor.
Deutsche Jugend, bestes Streben
Unsres Volks in dir vereint,
Wirst du Deutschlands neues Leben.
Und die Sonne schön wie nie
Über Deutschland scheint.
คอร์ดเพลง คอร์ดกีต้าร์ เนื้อเพลงคาราโอเกะ karaoke เพลงใหม่ เพลงสากล เพลงสตริง