มันแกว รวมสรรพคุณ
มันแกว ภาษาอังกฤษ Jicama ชื่อวิทยาศาสตร์ Pachyrhizus erosus (L.) Urb. ประโยชน์มันแกว สรรพคุณมันแกว ชื่อสามัญ Jicama, Yam bean ชื่ออื่นๆ มันแกว(กลาง), หัวแปะกัวะ (ใต้), มันแกวละแวก มันแกวลาว (เหนือ), มันเพา (อีสาน). โทษมันแกว ลักษณะต้นมันแกว หัวมันแกว สดๆ ประโยชน์ของ ต้นมันแกว รสหวานกรอบ ที่เห็นขายตามรถเข็นผลไม้ทั่วไป หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีคุณประโยชน์มากมาย ลดความอ้วน ช่วยเบาหวาน สุขภาพทั่วไป.
มันแกว คนไทยรู้จักมันแกวเป็นอย่างดี และรู้จักนานมาแล้ว รู้จักกินหัวมันแกวเป็นอาหาร ส่วนใหญ่กินหัวมันแกวสด แบบเดียวกับการกินผลไม้ ปริมาณการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น
ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าการได้รับไฟเบอร์เป็นประจำอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ได้ โดยมีการทดลองให้คนสองกลุ่มรับประทานไฟเบอร์ในปริมาณที่แตกต่างกัน กลุ่มแรกรับประทานไฟเบอร์มากกว่า 27 กรัมต่อวัน อีกกลุ่มรับประทานไฟเบอร์น้อยกว่า 11 กรัมต่อวัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับไฟเบอร์มากกว่ามีแนวโน้มที่เกิดโรคมะเร็งลำไส้น้อยกว่าอีกกลุ่มราว 50 เปอร์เซ็นต์
ต้นมันแกวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก
และแถบอเมริกากลางทางใต้สุดที่คอสตาริกาโดยพบหลักฐานการปลูกจากแหล่งโบราณคดีที่เปรูซึ่งมีอายุประมาณ 3,000ปี และนำเข้าไปปลูกในประเทศแถบทวีปเอเชียโดยชาวสเปน จากเส้นทางอะคาปุลโก-ฟิลิปปินส์ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย อินเดีย และแอฟริกา ในประเทศไทยมันแถวมีอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หัวใหญ่ และพันธุ์หัวเล็ก อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคได้แก่ ภาคใต้เรียกว่า “หัวแปะกัวะ” ภาคเหนือเรียกว่า “มันละแวก” “มันลาว” ส่วนภาคอีสานเรียกว่า “มันเพา” นอกจากนี้ยังอาจเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น “เครือเขาขน” “ถั้วบ้ง” และ “ถั่วกินหัว”
- มันแกว หรือ มันแกวเม็กซิโก (Pachyrhizus erosus) — พืชพื้นเมืองอเมริกากลาง เป็นชนิดพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย ซึ่งสันนิษฐานว่าผ่านทางฟิลิปปินส์โดยชาวสเปน และนำเข้ามายังจีนใต้และอินโดจีน และสู่ประเทศไทย
- มันแกวแอมะซอน (Amazonnian yam bean) หรือ jiquima, หรือ jacatupe (Pachyrhizus tuberosus) — มีความหลากหลายของสายพันธุ์ถึง 11 ชนิดย่อยตามแหล่งเพาะปลูกในเขตร้อนในเขตที่ราบลุ่มต้นน้ำแอมะซอนในเปรูและเอกวาดอร์ แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ
- นอกจากนี้ ไฟเบอร์อินูลินในมันแกวอาจช่วยต้านการอักเสบและลดการเสื่อมของเซลล์ผนังลำไส้ได้ในทำนองเดียวกับสารต้านอนุมูลอิสระจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้และต้องไม่ลืมว่า ไฟเบอร์ อินูลิน ยังอาจช่วยปรับสมดุลโพรไบโอติกส์ในลำไส้ ดังนั้น การบริโภคมันแกวและการได้รับไฟเบอร์ในปริมาณที่เหมาะสมจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ได้
รวมสรรพคุณของมันแกว
- หัวมันแกวมีสรรพคุณช่วยทำให้เกิดน้ำหล่อเลี้ยง แก้กระหายน้ำ ร้อนกระสับกระส่าย ลดไข้ รักษาโรคร้อนดับพิษ (หัว)[6]
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ หน้าแดง (หัว)
- ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง (หัว)
- ใช้เป็นยารักษาพิษสุราเรื้อรัง (หัว)
- ใบมันแกวมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
- ใบมีสรรพคุณใช้ในการรักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน (ใบ)
- เมล็ดแก่ป่นหรือบด ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังได้ (เมล็ด) บ้างว่าใช้เมล็ดบดนำมาทาผิวหนังที่หูดจะช่วยรักษาหูดได้ (เมล็ด)
- มันแกวมีวิตามินซี (แม้จะไม่มาก) แต่มันก็มีส่วนช่วยในการป้องหวัด มะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้
- มันแกวมีเส้นใยอาหารสูง จึงมีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้ดี
- จากการศึกษาของ the British Journal of Nutrition ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2005 แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีอินูลิน (Inulin) อย่างมันแกว สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งในลำไส้ใหญ่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
- Jíquima (เอกวาดอร์ชายฝั่งทะเล), Ashipa (กระจายทั่วไปในที่ลุ่มน้ำแอมะซอนตะวันตก), Chuin (ตลอดเส้นทางแม่น้ำเปรู), Yushpe (ปลูกเฉพาะในท้องถิ่นของเปรู)อาจพบในบางส่วนของบราซิล, โคลัมเบีย และเวเนซุเอลา
- มันแกวแอนดีส หรือ ahipa หรือ ajipa (Pachyrhizus ahipa) — พบในภูมิภาคที่ราบสูงโบลิเวียทางตะวันตกของอเมริกาใต้ ในเขตเทือกเขาแอนดีสของโบลิเวีย, เปรู และเอกวาดอร์ เป็นพันธุ์ที่คล้ายกับมันแกว (Pachyrhizus erosus) มากที่สุด
- และอีก 2 พันธุ์ที่เป็นพืชป่า คือ Pachyrhizus ferrugineus (Piper) Sørensen และ Pachyrhizus panamensis Clausen (Sørensen 1988)
- ที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้ทำการวิเคราะห์ฝักมันแกว (ผล) พบว่าประกอบไปด้วย ความชื้น 86.4%, โปรตีน 2.6%, ไขมัน 0.3%, คาร์โบไฮเดรต 10%, ใยอาหาร 2.9%, เถ้า 0.7%, วิตามินเอ 575 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.09 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.8 มิลลิกรัม, แคลเซียม 121 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.3 มิลลิกรัม, และฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม (ต่อ 100 กรัม)[1]
- ในเมล็ดมันแกวประกอบไปด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ 20.5-28.4% จากผลการวิเคราะห์เมล็ดมัวแกวประกอบไปด้วย ความชื้น 6.7%, โปรตีน 26.7%, น้ำมัน 27.3%, คาร์โบไฮเดรต 20%, ใยอาหาร 7%, เถ้า 3.68%[1]
- ในเมล็ดแก่จะมีสารพิษ เนื่องจากประกอบไปด้วย โรตีโนน 0.12-0.43%, ไอโซฟลาวาโนน และทุฟุราโน-3-ฟีนิล ดูมาริน
- ตัวอย่างผู้ที่ได้รับพิษ ผู้ป่วยเพศชายอายุ 28 ปี รับประทานเมล็ดเข้าไป 200 กรัม ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นเมล็ดถั่ว หลังจากรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ร่างกายอ่อนเพลียจนไม่สามารถเดินได้ จากนั้นไม่รู้สึกตัว หน้าซีด เริ่มมีอาการชักกระตุกที่มือและเท้า และไม่สามารถควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะได้ มีอาการท้องเสีย และได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา หลังจากรับประทานไปประมาณ 11 ชั่วโมง[2]
- ส่วนการรักษาให้รักษาไปตามอาการ เช่น ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ มีอาการช็อค ให้รีบช่วยทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ด้วยตัวเองหรือใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือเพื่อรักษาสมดลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย และให้ยาตามความเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
- มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thaiherb-tip108.blogspot.com. [26 พ.ค. 2014].
- กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, ศูนย์วิทยุบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: esc.agritech.doae.go.th/webpage/e-book/mun-kaew.pdf. [26 พ.ค. 2014].
- น้ำของประเทศไทย. “ผลไม้รักษาโรค”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.waterthailand.com. [26 พ.ค. 2014].
- FoodFacts. “What Is Jicama (Yambean) Good For?”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: foodfacts.mercola.com. [26 พ.ค. 2014].
- ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “มันแกว” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [26 พ.ค. 2014].
- ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “มันแกว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [26 พ.ค. 2014].