FOREX

เงินบาทปิดตลาดแข็งค่าจากช่วงเช้า ระหว่างวันเคลื่อนไหวผันผวน โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 33.36-33.47 บาท/ ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทยังคงไร้ปัจจัยชี้นำใหม่ เนื่องจากตลาดรอดูสถานการณ์เงินเฟ้อโลก ราคาน้ำมัน และกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย

ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวค่อนข้างแคบ มีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า โดยยังรอปัจจัยใหม่เช่นเดียวกับเงินบาท

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.30 – 33.50 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้อง ติดตามช่วงนี้ คือ ราคาน้ำมัน และบอนด์ยิลด์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.44 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 114.40/50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1623 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1620/1680 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,637.55 จุด เพิ่มขึ้น 7.16 จุด (+0.44%) มูลค่าการซื้อขาย 67,918 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,833.12 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารกสิรกรไทย คาดทิศทางเงินบาทในช่วงไตรมาส 4/64 จะอยู่ในกรอบ 32.40-34.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่ง
FOREX การอ่อนค่ามาแตะที่ระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 4 ปี หรือตั้งแต่ ก.ค.60 อย่างไรก็ดี คาดว่า ณ สิ้นปี
เงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 32.75 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับฐานกลับมาแข็งค่า หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มลด
QE ภายในพ.ย.นี้
  • คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับ
สูงขึ้น โดยให้ใช้การกำหนดส่วนต่างระหว่างดีเซลแต่ละชนิด FOREX แต่คงค่าการตลาดไว้ไม่เกิน 1.40 บาท/ลิตร พร้อมกับใช้เงินในกอง
ทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรักษาระดับราคาดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท และเปิดช่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต หากสถานะกองทุน
น้ำมันฯ ไม่เพียงพอ
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยยอดการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออก ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภาย
ใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เดือน ส.ค.64 มีมูลค่ารวม 7,341 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
18.29% โดยไทยมีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า เพื่อส่งออกภายใต้กรอบ FTA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากความต้อง
การสินค้าที่มากขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษ เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ เดือนก.ย. 64
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.1% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงนั้นอาจเกิดขึ้นชั่วคราว โดยคาดการณ์ว่าธนาคารกลาง
อังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
  • กระทรวงพาณิชย์จีน เผยยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้าสู่จีนในช่วง 9 เดือนแรก (ม.
ค.-ก.ย.64) พุ่งขึ้น 19.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะที่ 8.595 แสนล้านหยวน หรือประมาณ 1.293 แสนล้านดอลลาร์
สหรัฐ
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เผยจะจับตาความเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนถือ
เป็นสิ่งสำคัญ โดยการเปิดเผยดังกล่าว มีขึ้นหลังจากค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับ 114.585 เยนเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนพ.
ย. 2560 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น
  • ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี

การผลิตเดือนต.ค.จากเฟด ฟิลาเดลเฟีย, FOREX ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้น

เดือน ต.ค.จากมาร์กิต และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือน ต.ค.จากมาร์กิต