มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งโดยปกติแล้วมักมาจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรก็ตามยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การสูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 5 ปี เคยคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ในช่วงระยะก่อนมะเร็งมดลูก หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส และโรคหนองใน เป็นต้นสำหรับการรักษาทั้งขั้นตอนและรูปแบบการรักษาจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางในการรักษาโดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะ และอาการของโรค เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้ โรคมะเร็งปากมดลูกเกือบ 70% เกิดจากเชื้อไวรัส HPV รองลงมาคือการสูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มาเกี่ยวพันกันก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้
มะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆที่แสดงออกมาชัดเจน รวมถึงผู้หญิงไทยยังมีอัตราการตรวจคัดกรองโรคในระดับที่น้อย กว่าที่จะตรวจพบ ก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
สาเหตุสำคัญของโรคนี้เกิดจากเชื้อฮิวแมนแป๊ปปิโลม่าไวรัส (Human papilloma virus = HPV) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งติดต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อนี้ แต่ร่างกายสามารถกำจัดไปได้ และมีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก และอื่นๆ
การตรวจเซลล์ปากมดลูกด้วยวิธีทางเซลล์วิทยา มะเร็งปากมดลูก หรือแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเช็คให้ในขณะที่ทำการตรวจภายใน ซึ่งหลังจากตรวจเสร็จแพทย์จะนัดฟังผลตรวจหรือแจ้งผลให้ทราบในภายหลัง หากมีความผิดปกติก็จะใช้การรักษาตามความผิดปกติของรอยโรคในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เซลล์เยื่อบุผิวปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งมีกรณีที่พบได้ไม่มากนักที่พบว่าเซลล์ก่อนเป็นมะเร็ง (precancerous cells) จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคต อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และสามารถให้การรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้